โปรแกรม Odoo ERP เลย

Posted on Posted in โปรแกรม Odoo ERP, โปรแกรม Odoo ERPตะวันออกเฉียงเหนือ

โปรแกรม Odoo ERP โทร : 096-915-9956

เลย เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 520 กิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศที่งดงาม อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย

  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: สนสามใบ (Pinus kesiya)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู ถิ่นที่อยู่อริยสงฆ์ มั่นคงความสะอาด
  • ลักษณะรูปร่างของจังหวัดเลย: ลักษณะรูปร่างของจังหวัดเลยมีรูปร่างคล้ายกับ "ศีรษะของลูกไดโนเสาร์พันธุ์ไทรเซอราทอปส์ที่ไม่มีเขา"
ให้บริการเกี่ยวกับโปรแกรม ใช้งานง่าย ช่วยวางแผนธุรกิจ ERP

SIAM ERP

Odoo เป็นซอฟต์แวร์ทางธุรกิจหรือ ERP ที่มีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วที่สุดในโลก อีกทั้งเป็นแอพลิเคชันที่รองรับการทำงานทางด้านธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบที่คุณต้องการ ตั้งแต่ จากเว็บไซต์ไปจนถึงกระบวนการผลิต, การควบคุมคลังสินค้า และทางบัญชี ซึ่งทุกสิ่งที่คุณต้องการใช้ในธุรกิจได้ถูกรวบรวมไว้แล้วใน Odoo ซึ่งนับว่าเป็น Software ตัวแรกที่มีการรองรับการแก้ไขที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชันการใช้งานจริง โดยการวิเคราะห์ระบบ พร้อมทั้งพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยการศึกษาความต้องการลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อตอบสนองความต้องการ ของธุรกิจเป็นหลัก มีการออกแบบ และ พัฒนาระบบงาน ให้เหมาะสม และ ตรงกับความต้องการของธุรกิจของคุณอย่างยั่งยืน ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทางเรามีความยินดี แนะนำให้ข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี ที่มีประโยชน์กับลูกค้า เพื่อตอบสนองถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบ ด้วยความน่าเชื่อถือ, และการช่วยเหลือทางด้านเทคนิคอย่างมืออาชีพ สิ่งสำคัญที่สุด คือการที่เราได้เน้น ให้ความสำคัญกับลูกค้า ถึงประสบการณ์การใช้งานระบบ ซึ่งต้องให้ตอบความต้องการ ระหว่างลูกค้า กับ ระบบ Odoo ได้ด้วย

ธุรกิจที่เหมาะจะใช้ Odoo?

ประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับระบบ Odoo ในเมืองไทย อาทิ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจเสริมความงามและสุขภาพ ธุรกิจทางด้านการแพทย์ ระบบบริการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจการบริหารจัดการโลจิสติกส์  ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจการบริการ ธุรกิจการท่องเที่ยว  ธุรกิจบันเทิง และ การโฆษณา ระบบบัญชีและการเงิน ระบบการศึกษา

ไม่ว่าคุณจะจัดการกำหนดการของพนักงานหรือคาดการณ์โครงการของคุณระบบการวางแผนของ Odoo ช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปที่การประสานงาน และทำให้การจัดระเบียบเป็นเรื่องง่ายแสนง่าย สร้างกะงาน มอบหมายงาน และปรับเปลี่ยนการมอบหมายงานด้วยการคลิกลากและวางเพียงครั้งเดียว

พนักงานของคุณสามารถเข้าถึงกำหนดการของตนเองผ่านทางพอร์ทัลส่วนตัวของตนเอง โดยจะได้รับทั้งมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับกะงานของตนเอง และสามารถเลือกกะงานที่ว่างอยู่หรือปรับเปลี่ยนกำหนดการของตนเองโดยตรงจากคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน

เปลี่ยนใบเสนอราคาให้เป็นใบสั่งขายในคลิกเดียว หรือให้ลูกค้าเซ็นเอกสารด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดาย

ออกใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าตามเวลาและวัสดุ บันทึกข้อมูลสัญญาและติดตามระยะเวลาในการออกใบแจ้งหนี้ได้ง่าย ๆ รักษาโอกาสในการต่ออายุและการขายต่อยอด และจัดการการสมัครสมาชิกของคุณด้วยระบบทำสัญญาแบบประจำตามรอบของ Odoo

พอร์ทัลสำหรับลูกค้าจะช่วยให้ลูกค้าของคุณสามารถเข้าถึงใบเสนอราคา ใบสั่งขาย และใบส่งสินค้าของตนได้ ประหยัดเวลาและใช้ Odoo Sign เพื่อลงนามบน NDA สัญญา หรือเอกสาร PDF ทั้งหมดได้ง่าย ๆ

เชื่อมต่อรายการเคลื่อนไหวในบัญชีของคุณเข้ากับธนาคารโดยอัตโนมัติ หรือนำเข้าไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย จัดทำใบแจ้งหนี้ที่ถูกต้องชัดเจนในแบบมืออาชีพ จัดการกับการเรียกเก็บแบบประจำตามรอบ และติดตามการชำระเงินได้ง่ายๆ ควบคุมใบแจ้งหนี้ของซัพพลายเออร์ และคาดการณ์ยอดเรียกเก็บที่คุณต้องจ่ายในอนาคคได้อย่างแม่นยำ ระหยัดเวลาและทำให้ 95% ของการกระทบยอดเป็นระบบอัตโนมัติ ด้วยเครื่องมือกระทบยอดบัญชีที่ชาญฉลาดของเรา

จัดระเบียบโกดังสินค้าของคุณให้ดียิ่งขึ้นด้วยระบบการลงบัญชีสินค้าคงคลังแบบบัญชีคู่อันชาญฉลาด รับระบบการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุดพร้อมทั้งปรับปรุงการปฏิบัติงานภายในของคุณ ระบบสินค้าคงคลังแบบลงรายการคู่ของ Odoo ไม่ต้องมีข้อมูล input หรือ output หรือการแปลงข้อมูล เพราะการปฏิบัติงานทั้งหมดก็เพียงแค่ย้ายสต๊อกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเท่านั้น

ติดตามทุกความเคลื่อนไหวในสต๊อก นับตั้งแต่จัดซื้อ เข้าคลังสินค้า ไปจนถึงใบสั่งขาย ติดตามหมายเลขล็อตหรือหมายเลขซีเรียลในแบบอัปสตรีมหรือดาวน์สตรีมได้จากทุกที่ในซัพพลายเชนของคุณ


ประวัติศาสตร์

มีหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาว่า ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนกเชียงแสนที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้าง ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้ายในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่ เป็น "เมืองด่านซ้าย" อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยางในที่สุด โดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้าย เป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง

นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขต ล้านนา ต่อแดนล้านช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบ เมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นมาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พาผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไลถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า "บ้านแห่" (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน"

ในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่า หมู่บ้านแฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยน้ำหมาน และอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมือง เพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นเมืองเรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า เมืองเลย ต่อมา พ.ศ. 2440 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลยออกเป็น 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกุดป่อง อำเภอท่าลี่(เดิมตำบลอาฮีเป็นอำเภอ แต่ถูกลดบทบาทลงเป็นตำบลเพราะอยู่ใกล้กับแม่น้ำเหื่องมีผลมาจากการเสียดินแดนให้ลาวโดยประเทศฝรั่งเศส) อำเภอนากอก (ปัจจุบันอยู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) อำเภอที่ตั้งเมืองคือ อำเภอกุดป่อง ต่อมา พ.ศ. 2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็น บริเวณลำน้ำเลย พ.ศ. 2449-2450 เปลี่ยนชื่อบริเวณลำน้ำเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และใน พ.ศ. 2450 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหือง ให้คงเหลือไว้เฉพาะ "เมืองเลย" โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็น "อำเภอเมืองเลย"

 

กลุ่มเชื้อชาติประชากร

ชาวไทเลย

ไทเลย เป็นชื่อเรียกคนเมืองเลย ในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า คนเมืองเลยคือกลุ่มชนที่อพยพจากชายแดนตอนเหนืออาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากไทหลวงพระบาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเซไล (บ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง ปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2396 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านแห่ (บ้านแฮ่ปัจจุบัน) ได้ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าเมืองเลย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองเลยก็รวมตัวกันเป็นเมืองใหญ่ โดยการรวมตัวของ อำเภอกุดป่อง อำเภอท่าลี่ ซึ่งขึ้นกับมณฑลอุดร อำเภอด่านซ้าย ซึ่งขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก เมืองเชียงคาน ซึ่งขึ้นกับเมืองพิชัย อำเภอต่าง ๆ เหล่านี้จึงโอนขึ้นกับเมืองเลยทั้งหมดตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา

ชาวไทเลยจะมีนิสัยใจคอเหมือนกับชนเชื้อชาติโบราณซึ่งไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปจากดั้งเดิม มีสำเนียงพูดที่แปลกและนิ่มนวล พูดสุภาพและไม่ค่อยพูดเสียงดัง กิริยามารยาทดีงาม อารมณ์เยือกเย็นไม่วู่วาม มีนิสัยรักความสงบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักถิ่นที่อยู่ไม่ค่อยอพยพไปอยู่ที่อื่น ส่วนทางด้านวัฒนธรรมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา ได้แก่ “ฮีตสิบสอง–คองสิบสี่” คือการทำบุญตามประเพณีทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี

บ้านชาวไทเลยเป็นเรือนหลังใหญ่ ยกพื้นสูงมีระเบียงหรือชานยื่นออกมาหน้าเรือน มีเรือนครัวซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างแยกต่างหากโดยมีชานต่อเชื่อมติดกัน สำหรับหลังคาของเรือนนอนมุงด้วยหญ้าคาหรือไม้แป้นเก็ด ฝาเรือน พื้นเรือนนิยมทำด้วยไม้แผ่นเรียกว่า ไม้แป้น ส่วนเสาจะใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นต้นๆ หรืออิฐก่อเป็นเสาใหญ่ มีบันไดไม้พาดไว้สำหรับขึ้นลง ส่วนเรือนครัวมุงด้วยหญ้าคา ฝาและพื้น จะนิยมทำด้วยฟากไม้ไผ่สับแผ่ออกเป็นแผ่น และเสาจะทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่นกัน

จังหวัดเลย มีคนพื้นเมืองที่มีเชื้อชาติไทย ซึ่งเรียกตัวเองว่า ไทเลย เป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ก็มีคนเชื้อชาติจีน ชาวเขา ไทดำ ไทพวน

 

ชาวไทดำ

ชาวไทดำ อพยพมาจากแคว้นพวน ในประเทศลาวปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านั้นอยู่ที่แคว้นสิบสองจุไท ซึ่งเป็นบ้านเกิดเดิมของชาวไทดำ ในอดีตแคว้นสิบสองจุไทเป็นเขตอาณาจักรสยาม ปัจจุบันอยู่ในประเทศเวียดนาม เมื่อปี พ.ศ. 2417 เมื่อพวกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองเชียงขวาง ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญในแคว้นพวน จึงได้เริ่มอพยพลงมาตามเส้นทางเรื่อยๆ จนได้มาพักที่บ้านน้ำก้อใหญ่ ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมามีชาวไทยดำกลุ่มหนึ่ง ได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขง ไปยังบ้านน้ำกุ่ม แขวงเวียงจันทน์ แต่ในขณะนั้นเขตเวียงจันทน์มีปัญหาการเจรจากับฝรั่งเศส ไทดำจึงข้ามแม่น้ำโขงกลับมาตั้งหมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน ซึ่งเป็นถิ่นฐานดั้งเดิม และถาวรจนถึงปัจจุบัน ที่หมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน เมื่อปี พ.ศ. 2438 มี 15 ครัวเรือน ปัจจุบันชาวไทดำ มีจำนวน 825 ครัวเรือน มีอาชีพส่วนใหญ่ทางการเกษตรกรรม

 

ชาวไทพวน

ชาวไทพวน ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านบุฮมและบ้านกลาง อำเภอเชียงคาน จากถิ่นฐานเดิมที่เมืองเตาไห หลวงพระบาง ประเทศลาว เมื่อครั้งพวกจีนฮ่อ กลา เวียง รุกรานเมืองเตาไห

 

ชาวไทใต้

ชาวไทใต้ อพยพมาจากภาคอีสานเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเลย ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดยโสธร เมื่อ พ.ศ. 2506 จะพบชาวไทใต้จำนวนมากที่อำเภอเอราวัณ และอำเภอนาด้วง ภาษาพูด แตกต่างจากภาษาไทเลย เพราะได้สืบทอดมาจากถิ่นเดิมของตน เช่น ภาษาไทยอีสาน ภาษาถิ่นอุบล ภาษาไทยโคราช

 

ภาษาของคนจังหวัดเลย

มีสำเนียงภาษาแตกต่างจากภาษาพูดของคนในจังหวัดภาคอีสานอื่น ๆ เพราะกลุ่มคนที่อาศัยปัจจุบันนี้มีประวัติการอพยพเคลื่อนย้ายจากเมืองหลวงพระบางแห่งอาณาจักรล้านช้าง ต่อมาต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ชาวหลวงพระบางและชาวเมืองบริเวณใกล้เคียงที่อพยพมาเมืองเลยได้นำวัฒนธรรมด้านภาษาอีสานถิ่นอื่นเข้ามาด้วย โดยภาษาเลยนั้นจัดอยู่ในกลุ่มหลวงพระบางอันประกอบด้วยภาษาเมืองแก่นท้าว ภาษาอำเภอด่านซ้าย และภาษาอำเภอเมืองเลย ดังนั้นสำเนียงพูดของชาวไทเลยจึงมีลักษณะการพูดเหมือนชาวหลวงพระบาง แต่บางพยางค์ออกเป็นเสียงสูงคล้ายสำเนียงพูดของชาวปักษ์ใต้ ฟังดูไพเราะนุ่มนวลจึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคนเมือง ส่วนคนในวังสะพุงจะพูดเสียงห้วนกว่าชาวเลยถิ่นอื่น

 

การปกครองแบ่งออกเป็น 14 อำเภอ 89 ตำบล 840 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองเลย
อำเภอนาด้วง
อำเภอเชียงคาน
อำเภอปากชม
อำเภอด่านซ้าย
อำเภอนาแห้ว
อำเภอภูเรือ
อำเภอท่าลี่
อำเภอวังสะพุง
อำเภอภูกระดึง
อำเภอภูหลวง
อำเภอผาขาว
อำเภอเอราวัณ
อำเภอหนองหิน