โปรแกรม Odoo ERP นนทบุรี

Posted on Posted in โปรแกรม Odoo ERP, โปรแกรม Odoo ERPภาคกลาง

โปรแกรม Odoo ERP โทร : 096-915-9956

นนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

ปัจจุบัน จังหวัดนนทบุรีจัดเป็นพื้นที่ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีขนาดเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 75 ของประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร) แต่มีประชากรหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร

  • ตัวอักษรย่อ จังหวัดนนทบุรีใช้อักษรย่อ "นบ"
  • คำขวัญประจำจังหวัด พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ
  • ตราประจำจังหวัด รูปหม้อน้ำลายวิจิตร หมายถึง ชาวจังหวัดนนทบุรีมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งยึดถือเป็นอาชีพและมีชื่อเสียงมาช้านาน
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด ต้นนนทรีบ้าน (Peltophorum pterocarpum)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกนนทรี
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด ปลาเทพา (Pangasius sanitwongsei)
ให้บริการเกี่ยวกับโปรแกรม ใช้งานง่าย ช่วยวางแผนธุรกิจ ERP

SIAM ERP

Odoo เป็นซอฟต์แวร์ทางธุรกิจหรือ ERP ที่มีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วที่สุดในโลก อีกทั้งเป็นแอพลิเคชันที่รองรับการทำงานทางด้านธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบที่คุณต้องการ ตั้งแต่ จากเว็บไซต์ไปจนถึงกระบวนการผลิต, การควบคุมคลังสินค้า และทางบัญชี ซึ่งทุกสิ่งที่คุณต้องการใช้ในธุรกิจได้ถูกรวบรวมไว้แล้วใน Odoo ซึ่งนับว่าเป็น Software ตัวแรกที่มีการรองรับการแก้ไขที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชันการใช้งานจริง โดยการวิเคราะห์ระบบ พร้อมทั้งพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยการศึกษาความต้องการลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อตอบสนองความต้องการ ของธุรกิจเป็นหลัก มีการออกแบบ และ พัฒนาระบบงาน ให้เหมาะสม และ ตรงกับความต้องการของธุรกิจของคุณอย่างยั่งยืน ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทางเรามีความยินดี แนะนำให้ข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี ที่มีประโยชน์กับลูกค้า เพื่อตอบสนองถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบ ด้วยความน่าเชื่อถือ, และการช่วยเหลือทางด้านเทคนิคอย่างมืออาชีพ สิ่งสำคัญที่สุด คือการที่เราได้เน้น ให้ความสำคัญกับลูกค้า ถึงประสบการณ์การใช้งานระบบ ซึ่งต้องให้ตอบความต้องการ ระหว่างลูกค้า กับ ระบบ Odoo ได้ด้วย

ธุรกิจที่เหมาะจะใช้ Odoo?

ประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับระบบ Odoo ในเมืองไทย อาทิ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจเสริมความงามและสุขภาพ ธุรกิจทางด้านการแพทย์ ระบบบริการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจการบริหารจัดการโลจิสติกส์  ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจการบริการ ธุรกิจการท่องเที่ยว  ธุรกิจบันเทิง และ การโฆษณา ระบบบัญชีและการเงิน ระบบการศึกษา

ไม่ว่าคุณจะจัดการกำหนดการของพนักงานหรือคาดการณ์โครงการของคุณระบบการวางแผนของ Odoo ช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปที่การประสานงาน และทำให้การจัดระเบียบเป็นเรื่องง่ายแสนง่าย สร้างกะงาน มอบหมายงาน และปรับเปลี่ยนการมอบหมายงานด้วยการคลิกลากและวางเพียงครั้งเดียว

พนักงานของคุณสามารถเข้าถึงกำหนดการของตนเองผ่านทางพอร์ทัลส่วนตัวของตนเอง โดยจะได้รับทั้งมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับกะงานของตนเอง และสามารถเลือกกะงานที่ว่างอยู่หรือปรับเปลี่ยนกำหนดการของตนเองโดยตรงจากคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน

เปลี่ยนใบเสนอราคาให้เป็นใบสั่งขายในคลิกเดียว หรือให้ลูกค้าเซ็นเอกสารด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดาย

ออกใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าตามเวลาและวัสดุ บันทึกข้อมูลสัญญาและติดตามระยะเวลาในการออกใบแจ้งหนี้ได้ง่าย ๆ รักษาโอกาสในการต่ออายุและการขายต่อยอด และจัดการการสมัครสมาชิกของคุณด้วยระบบทำสัญญาแบบประจำตามรอบของ Odoo

พอร์ทัลสำหรับลูกค้าจะช่วยให้ลูกค้าของคุณสามารถเข้าถึงใบเสนอราคา ใบสั่งขาย และใบส่งสินค้าของตนได้ ประหยัดเวลาและใช้ Odoo Sign เพื่อลงนามบน NDA สัญญา หรือเอกสาร PDF ทั้งหมดได้ง่าย ๆ

เชื่อมต่อรายการเคลื่อนไหวในบัญชีของคุณเข้ากับธนาคารโดยอัตโนมัติ หรือนำเข้าไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย จัดทำใบแจ้งหนี้ที่ถูกต้องชัดเจนในแบบมืออาชีพ จัดการกับการเรียกเก็บแบบประจำตามรอบ และติดตามการชำระเงินได้ง่ายๆ ควบคุมใบแจ้งหนี้ของซัพพลายเออร์ และคาดการณ์ยอดเรียกเก็บที่คุณต้องจ่ายในอนาคคได้อย่างแม่นยำ ระหยัดเวลาและทำให้ 95% ของการกระทบยอดเป็นระบบอัตโนมัติ ด้วยเครื่องมือกระทบยอดบัญชีที่ชาญฉลาดของเรา

จัดระเบียบโกดังสินค้าของคุณให้ดียิ่งขึ้นด้วยระบบการลงบัญชีสินค้าคงคลังแบบบัญชีคู่อันชาญฉลาด รับระบบการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุดพร้อมทั้งปรับปรุงการปฏิบัติงานภายในของคุณ ระบบสินค้าคงคลังแบบลงรายการคู่ของ Odoo ไม่ต้องมีข้อมูล input หรือ output หรือการแปลงข้อมูล เพราะการปฏิบัติงานทั้งหมดก็เพียงแค่ย้ายสต๊อกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเท่านั้น

ติดตามทุกความเคลื่อนไหวในสต๊อก นับตั้งแต่จัดซื้อ เข้าคลังสินค้า ไปจนถึงใบสั่งขาย ติดตามหมายเลขล็อตหรือหมายเลขซีเรียลในแบบอัปสตรีมหรือดาวน์สตรีมได้จากทุกที่ในซัพพลายเชนของคุณ


ประวัติศาสตร์

สภาพทั่วไปของจังหวัดนนทบุรีเป็นที่ราบลุ่มมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนหนาแน่นตามริมแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่อดีต เช่น บ้านวัดชลอ บ้านวัดเขมา บ้านบางม่วง บ้านตลาดขวัญ บ้านบางขนุน เป็นต้น

 

สมัยอยุธยา

หลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรีปรากฏที่วัดปรางค์หลวง ตั้งอยู่ในตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ เป็นวัดที่มีพระปรางค์ลักษณะย่อมุมไม้ยี่สิบขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักแก่ชุมชนชาวเมืองอู่ทองที่อพยพหนีโรคระบาดมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้ก่อนจะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ชุมชนแห่งนี้ได้ขยายตัวและกระจัดกระจายออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ในบริเวณนี้ โดยมีชุมชนสำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ บ้านตลาดขวัญ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ท้องที่จังหวัดนนทบุรีทั้งหมดในสมัยนี้ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา จากเหนือวัดชลอไปทะลุใกล้วัดมูลเหล็ก (ปัจจุบันคือวัดสุวรรณคีรี เขตบางกอกน้อย) เพื่อใช้เป็นเส้นทางลัดในการเดินทางและเพื่อเพิ่มปริมาณแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรในพื้นที่

ในปีเดียวกันนั้น พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ผลจากสงครามทำให้สมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์บนคอช้าง เมื่อพม่ายกทัพกลับไป และกรุงศรีอยุธยาได้จัดการพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงปรับปรุงกิจการทหารให้มั่นคงกว่าเดิม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นอีกหลายเมือง รวมทั้งให้ยกฐานะหมู่บ้านตลาดขวัญขึ้นเป็น เมืองนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2092 เนื่องจากมีราษฎรจำนวนมากหนีภัยสงครามครั้งนั้นไปอยู่ตามป่าเขาและไม่ยอมกลับพระนคร หากตั้งเมืองใหม่ขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อการเกณฑ์ไพร่พลเมื่อเกิดสงคราม นอกจากนี้ยังสามารถเป็นเมืองท่าและเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยาได้อีกด้วย ที่ตั้งของเมืองนนทบุรีในครั้งแรกนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีวัดเทพอุรุมภังค์ (วัดหัวเมือง) เป็นเขตเหนือ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) และมีวัดท้ายเมืองเป็นเขตใต้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดตัดส่วนโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุออกหน้าวัดเขมา (เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลวกเข้าไปทางบางกรวยและบางใหญ่) ซึ่งทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองที่ขุดใหม่ กลายเป็นแนวแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่าในปัจจุบัน ส่วนแม่น้ำเดิมก็ตื้นเขินลงเป็นคลองอ้อม คลองบางกอกน้อย และคลองบางกรวยตามที่ปรากฏในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระราชดำริว่า แนวแม่น้ำเจ้าพระยาที่สั้นลงจะทำให้ข้าศึกเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาได้ง่ายขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรีจากบ้านตลาดขวัญไปตั้งบริเวณปากคลองอ้อม บ้านบางศรีเมือง[8] (ที่ตั้งเมืองอยู่บริเวณนี้จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และให้สร้างกำแพงเมืองรวมทั้งป้อมปราการขึ้น 2 ป้อม คือ "ป้อมแก้ว" ตั้งอยู่ที่บ้านตลาดแก้ว (สันนิษฐานว่าอยู่ที่วัดปากน้ำในปัจจุบัน) และ "ป้อมทับทิม" ตั้งอยู่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน (ปัจจุบันกำแพงและป้อมถูกรื้อไปหมดแล้ว) ในช่วงนี้สภาพเศรษฐกิจของเมืองนนทบุรีมีความมั่นคงมาก ทั้งการค้าขายและการทำสวนผลไม้

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2264 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดเกร็ดขึ้นตัดความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ไหลวกอ้อมไปทางบางบัวทอง[10] ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล ชายฝั่งทั้งสองข้างของคลองลัดเกร็ดถูกกัดเซาะให้ห่างออกจากกันมากขึ้น พื้นที่ตรงกลางที่มีน้ำล้อมรอบจึงกลายเป็นเกาะ เรียกว่า "เกาะเกร็ด"

ปี พ.ศ. 2307 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเล็กน้อย พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า โปรดเกล้าฯ ให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพเข้าตีเข้ากรุงศรีอยุธยาจากทางทิศใต้ ตีหัวเมืองรายทางเรื่อยมาจนถึงเมืองธนบุรีและเมืองนนทบุรี ก็เข้ายึดเมืองทั้งสองได้เช่นกัน พม่าแบ่งกำลังบางส่วนขึ้นมาตั้งค่ายอยู่บริเวณวัดเขมา ขณะนั้นมีเรือกำปั่นอังกฤษซึ่งมาค้าขายอยู่ที่เมืองธนบุรีได้อาสาช่วยรบโดยยิงปืนเข้าใส่ค่ายพม่าในเวลากลางคืน แต่ในที่สุดก็สู้กองทัพพม่าไม่ได้ จึงล่องเรือหนีไป

จากนั้นกองทัพพม่าจึงบุกขึ้นไปทางทิศเหนือ เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2309 และเข้ายึดได้ในปี พ.ศ. 2310 ตลอดการสู้รบได้ส่งผลให้บ้านเมือง วัดวาอารามต่าง ๆ ถูกทำลายและทิ้งร้าง ชาวเมืองนนทบุรีต้องอพยพจากถิ่นที่อยู่เดิม ข้ามแม่น้ำไปหลบซ่อนในสวนบางกรวยและบางใหญ่เพื่อหนีภัยสงคราม

 

สมัยรัตนโกสินทร์

เมื่อบ้านเมืองได้รับการฟื้นฟูกลับสู่สภาพปกติในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวเมืองจึงค่อย ๆ ย้ายกลับสู่ถิ่นฐานเดิม พร้อมทั้งมีผู้คนจากถิ่นอื่นเข้ามาในพื้นที่ด้วย ได้แก่ ชาวมอญที่อพยพเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งถิ่นฐานที่ปากเกร็ด และอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองนนทบุรี เมืองปทุมธานี และเมืองนครเขื่อนขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชาวไทยมุสลิมเมืองปัตตานีที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และชาวไทยมุสลิมเมืองไทรบุรีที่เข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ชาวไทยมุสลิมเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าอิฐ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปากเกร็ด) และบ้านบางบัวทอง

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสร้อยชื่อเมืองจากเดิมคือ เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร เป็น เมืองนนทบุรีศรีมหาอุทยาน และต่อมาเปลี่ยนเป็น เมืองนนทบุรีศรีเกษตราราม ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ เมืองนนทบุรีมีฐานะเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดกรมท่า

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เป็นการปกครองส่วนภูมิภาค เมืองนนทบุรี จึงจัดอยู่ในมณฑลกรุงเทพ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตลาดขวัญ อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และอำเภอปากเกร็ด[16] ส่วนศาลากลางเมืองนนทบุรีนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากปากคลองอ้อม บ้านบางศรีเมือง มาตั้งอยู่ที่ปากคลองบางซื่อใกล้วัดท้ายเมือง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็น "จังหวัด" เมืองนนทบุรีจึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จังหวัดนนทบุรี

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีมาตั้งที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ศาลากลางจังหวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการเมืองและศาลากลางจังหวัดนนทบุรีในอดีตลงมาทางทิศใต้ ปัจจุบันก็คือศาลากลางจังหวัดหลังเก่าบริเวณท่าน้ำนนทบุรีนั่นเอง

 

สมัยปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2474 ทางราชการได้ตัดถนนประชาราษฎร์ ขึ้นเป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดพระนครสายแรก และต่อมาจึงตัดถนนพิบูลสงครามเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเป็นสายที่สอง ในท้องที่ตำบลสวนใหญ่

เมื่อปี พ.ศ. 2486 เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการจึงยุบจังหวัดนนทบุรีลงเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ โดยโอนอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ดไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร และโอนอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางบัวทองไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี จนกระทั่งนนทบุรีได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2489 อำเภอต่าง ๆ จึงกลับมาอยู่ในเขตการปกครองของทางจังหวัดตามเดิม

ปี พ.ศ. 2499 กระทรวงมหาดไทยได้ยกกิ่งอำเภอไทรน้อยซึ่งแยกพื้นที่ปกครองจากอำเภอบางบัวทองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ให้มีฐานะเป็นอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรีจึงมีเขตการปกครองรวม 6 อำเภอจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงมหาดไทยย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ไปตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ และใช้เป็นที่ทำการมาจนถึงทุกวันนี้

จังหวัดนนทบุรีตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางเหนือ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 622.303 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 388,939.375 ไร่ โดยมีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ละติจูดที่ 13 องศา 47 ลิปดาเหนือ ถึงละติจูดที่ 14 องศา 04 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 100 องศา 15 ลิปดาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 100 องศา 34 ลิปดาตะวันออก  และมีอาณาเขตจรดอำเภอและจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตดอนเมือง เขตหลักสี่ และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร (ฝั่งพระนคร)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางพลัด เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

 

จังหวัดนนทบุรีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค (ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่) ออกเป็น 6 อำเภอ 52 ตำบล 424 หมู่บ้าน

เมืองนนทบุรี
บางกรวย
บางใหญ่
บางบัวทอง
ไทรน้อย
ปากเกร็ด